ประวัติความเป็นมา

ในวันที่ 3 สิงหาคม 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง สำนักงานโทรคมนาคม กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานพิเศษชั่วคราว มีหน้าที่อำนวยการควบคุมดูแลการดำเนินงานตามโครงการโทรคมนาคมของกระทรวงมหาดไทยโดยจัดบริการสื่อสารให้กับหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และสังกัดอื่นตามที่ร้องขอครอบคลุมพื้นที่ 30 จังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้นภาคเหนือและภาคใต้ โดยแบ่งเขตควบคุมการสื่อสารออกเป็น  5เขต (พร้อมได้มีการติดตั้งเครื่องมือสื่อสารตามโครงการโทรคมนาคมขั้นที่ 1) ได้แก่

  • ศูนย์สื่อสารกลาง (กรุงเทพฯ)  ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด  พระนครศรีอยุธยา  สุพรรณบุรี  สระบุรี  สมุทรปราการ
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 1 (ฉะเชิงเทรา) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด  ปราจีนบุรี  นครนายก  ชลบุรี  ระยอง  จันทบุรี ตราด
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 2 (นครราชสีมา) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด  บุรีรัมย์  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 3 (ขอนแก่น) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด  กาฬสินธุ์  มหาสารคาม  ร้อยเอ็ด  อุดรธานี  หนองคาย สกลนคร นครพนม
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 4 (นครปฐม) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด  ราชบุรี  เพชรบุรี  สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม  กาญจนบุรี

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 207 ลงวันที่ 16 กันยายน 2515 ได้จัดให้มีการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยใหม่ โดยยกเลิก สำนักงานโทรคมนาคม และได้กำหนดให้จัดตั้ง กองการสื่อสาร ขึ้นสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยรับโอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน พนักงาน ฯลฯ จาก สำนักโทรคมนาคมเดิม และได้มีการขยายเครือข่ายสื่อสาร โดยแบ่งเขตควบคุมการสื่อสาร เพิ่มขึ้นจากเดิม 5 เขต เป็น 8 เขต (พร้อมได้มีการติดตั้งเครื่องมือสื่อสารตามโครงการโทรคมนาคมขั้นที่ 2) เพิ่มเติม ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเลย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • ศูนย์สื่อสารสาขา 5 (พิษณุโลก) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด อุตรดิตถ์  สุโขทัย  ตาก  กำแพงเพชร  พิจิตร  เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 6 (เชียงใหม่) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด แพร่  น่าน  ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย  ลำพูน
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 7 (นครศรีธรรมราช) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี  ชุมพร  ระนอง  ภูเก็ต  กระบี่  พังงา
  • ศูนย์สื่อสารสาขา 8 (สงขลา) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด พัทลุง  ตรัง  สตูล  ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส

ระยะต่อมา (พ.ศ. 2521 – 2523) ได้ขยายเครือข่ายสื่อสารให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตามโครงการโทรคมนาคมขั้นที่ 3 และจัดตั้งสถานีสื่อสารครบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดที่เป็นที่ตั้งศูนย์สื่อสารเขต  ในปีงบประมาณ 2535 มีการแบ่งเขตควบคุมการสื่อสารใหม่ออกเป็น ศูนย์สื่อสารเขต จำนวน 12 เขต และนำเทคโนโลยีสื่อสารระบบ DIGITAL มาใช้ทดแทนระบบ ANALOG รวมถึงมีการเพิ่มบริการสื่อสารโทรคมนาคมใหม่ ๆ ที่ทันสมัย ได้แก่ บริการสื่อสารข้อมูล (Online) การให้บริการสื่อสาร ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ในระดับจังหวัดดำเนินการโดยสถานีสื่อสารจังหวัด จำนวน 63 จังหวัด แต่ในจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่แต่ละภาค ให้บริการโดยศูนย์สื่อสารเขตทั้ง 12 จังหวัด ได้แก่

  • ศูนย์สื่อสารเขต 1 (พระนครศรีอยุธยา)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 2 (ชลบุรี)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 3 (นครปฐม)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 4 (นครราชสีมา)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 5 (อุดรธานี)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 6 (ขอนแก่น)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 7 (เชียงใหม่)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 8 (พิษณุโลก)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 9 (นครสวรรค์)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 10 (สุราษฎร์ธานี)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 11 (นครศรีธรรมราช)
  • ศูนย์สื่อสารเขต 12 (สงขลา)

พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 โดยรวมภารกิจระหว่าง กองการสื่อสาร และ ศูนย์สารสนเทศ จัดตั้งเป็น “ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ” สำหรับในส่วนภูมิภาค ได้มีการจัดตั้งสถานีสื่อสารขึ้นในทุกจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของศูนย์สื่อสารเขต และ ทุกสถานีสื่อสารจังหวัดทั่วประเทศ ถูกจัดรวมภารกิจไว้อยู่ใน กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัด ศูนย์สื่อสารเขต ได้รับการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต จนถึงปัจจุบัน

  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 1 (พระนครศรีอยุธยา)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 2 (ชลบุรี)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 3 (นครปฐม)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 4 (นครราชสีมา)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 5 (อุดรธานี)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 6 (ขอนแก่น)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 7 (เชียงใหม่)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 8 (พิษณุโลก)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 9 (นครสวรรค์)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 10 (สุราษฎร์ธานี)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 11 (นครศรีธรรมราช)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 12 (สงขลา)